การตรวจชิ้นเนื้อจากตัวอ่อนด้วยวิธี PGT
ปัจจุบันหลายครอบครัวกังวลในเรื่องของการมีลูก กลัวลูกออกมาแล้วร่างกายจะไม่แข็งแรง หรือพบความผิดปกติที่แอบแฝงอยู่ การตรวจชิ้นเนื้อจากตัวอ่อนจึงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในตอนนี้ โดยจะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการ ของการตรวจ PGT นี้
การตรวจชิ้นเนื้อเป็นการนำเอาเซลล์ออกจากตัวอ่อนเพื่อตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนแต่ละตัวในระยะ Blastocyst ของตัวอ่อน วันที่ 5 หรือ 6 ตัวอ่อนระยะนี้จะมีชั้นเซลล์เนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นตัวอ่อนอยู่ 2 ชนิด คือ Trophectoderm (TE) ซึ่งส่วนนี้จะเจริญไปเป็นส่วนของผนังที่หุ้มตัวอ่อน และเป็นส่วนของรกเด็ก การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมทำได้โดย การดึงเซลล์ออกมาหนึ่งเซลล์ขณะตัวอ่อนอายุได้ 3 วันด้วยวิธีการที่เหมาะสม
โดยวิธีการที่นำมาใช้เช่น การใช้เลเซอร์ช่วยเจาะผนังเซลล์ตัวอ่อนเพื่อดึงเซลล์ออกมาตรวจเช็ก การทำนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนที่ตรวจแล้ว หากไม่พบความผิดปกติใดๆ ก็จะถูกคัดเลือกเพื่อทำการฝังกลับไปที่โพรงมดลูกต่อไป การตรวจชิ้นเนื้อตัวอ่อน (Embryologist) สามารถทำได้โดย นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ในห้องปฏิบัติการและยังตรวจดีเอ็นเอตัวอ่อนได้ด้วย