การย้ายตัวอ่อน


วิธีการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก
1
การย้ายตัวอ่อนในรอบสด (Fresh Embryo Transfer: ET)
คือการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบที่มีการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ทันที
2
การย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็ง (Frozen Embryo Transfer: FET)
คือการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดือนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง เช่น ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian hyperstimulation syndrome: OHSS) หรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไป (Endometrial hyperplasia) หรือมีภาวะบวมน้ำ (Edema) โดยจะเก็บตัวอ่อนแช่แข็งไว้และจะละลายออกมาเมื่อมีความพร้อม ซึ่งสามารถเก็บรักษาตัวอ่อนแช่แข็งไว้ได้เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี
หลังจากย้ายตัวอ่อน แพทย์จะนัดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์โดยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนและ ตรวจประเมินอาการหลังย้ายตัวอ่อน เมื่อตั้งครรภ์สำเร็จคู่สมรสก็สามารถไปฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ได้ต่อไป

