บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนให้การรักษา
รายละเอียดขั้นตอน
1
ทำการลงทะเบียนผู้ป่วยและจัดทำแฟ้มประวัติตรวจรักษา โดยจะมีการตรวจสอบเอกสารที่สำคัญก่อนรับผู้ป่วยใหม่ เช่น บัตรประชาชน/หนังสือเดินทาง ทะเบียนสมรส เป็นต้น
2
พยาบาลจะทำการประเมินซักถาม บันทึกประวัติภาวะมีบุตรยาก และตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนเข้าพบแพทย์ รวมถึงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือดและวัดระดับฮอร์โมน เป็นต้น
3
ผู้ป่วยจะเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก โดยแพทย์จะซักถามอาการและประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับตรวจประวัติการรักษาเดิม ดังนี้
การตรวจร่างกายฝ่ายชาย
แพทย์จะทำการซักถามประวัติผลวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ กรณีที่ฝ่ายชายยังไม่มีผลตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อดังกล่าว จะมีการเก็บน้ำอสุจิไปตรวจ เพื่อดูปริมาณ คุณภาพ และรูปร่างของอสุจิเพื่อนำไปวินิจฉัยหาสาเหตุในการมีบุตรยากในเพศชาย
การตรวจร่างกาย ฝ่ายหญิง
แพทย์จะทำการตรวจภายใน (Per Vaginal examination: PV) รวมทั้ง อัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound: TVS) เพื่อใช้ในการพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น IUI หรือ ICSI เป็นต้น
4
พยาบาลจะให้คำปรึกษาและแนะนำแพ็คเกจในการรักษาร่วมกับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าตามคำสั่งแพทย์ โดยก่อนเข้ารับการรักษาการมีบุตรยากทุกวิธี ผู้ป่วยทุกรายจะต้องลงนามให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
5
ทำการนัดหมาย รวมถึงให้ผู้ป่วยประเมินความพึงพอใจในการรักษาครั้งนี้ เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น