สิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

การจัดการด้านพลังงาน

บริษัทให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าโดยยังสามารถรักษาประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยบริษัทเริ่มรณรงค์ให้บุคลากรของบริษัทใช้แนวทาง ดังนี้

1
ส่งเสริมการประหยัดไฟฟ้าโดยปิดไฟในช่วงเวลาพักหรือช่วงเวลาที่ไม่มีความจำเป็น
2
เลือกซื้อเครื่องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเปรียบเทียบอุปกรณ์ที่มีขนาดเท่ากันแต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดหรือพิจารณาจากฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพฉลากเบอร์ 5 ซึ่งออกโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3
เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดที่เหมาะสม และจำเป็นต่อการใช้งานจริงๆ เช่น เลือกใช้เครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ หรือหลอดไฟที่สามารถให้แสงสว่างได้มากโดยใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย
4
ดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทเริ่มเก็บสถิติการใช้ปริมาณไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และติดตามผลของการส่งเสริมแนวทางการจัดการด้านพลังงานของบริษัท

โดยบริษัทมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า รวม หน่วย

การบริหารจัดการน้ำ

บริษัทส่งเสริมให้พนักงาน ผู้บริหาร รวมถึงผู้ใช้บริการของบริษัทใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า โดยดำเนินการดังนี้

1
ตรวจสอบการรั่วซึมของระบบท่อประปาและอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบการรั่วของโถสุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ อ่างล้างมือหรืออ่างล้างจาน เป็นต้น
2
รณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและปิดน้ำเมื่อไม่ได้ใช้ เช่น ปิดน้ำระหว่างแปรงฟันหรือฟอกสบู่ล้างมือ เช็ดคราบก่อนล้างจาน และไม่ทิ้งขยะลงชักโครก เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทเริ่มการเก็บสถิติการปริมาณการใช้น้ำประปาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และติดตามผลของการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำของบริษัท

โดยบริษัทมีปริมาณการใช้น้ำประปา รวม ลูกบาศก์เมตร

การจัดการขยะ ของเสีย และมลพิษ

บริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในเกี่ยวกับการกำจัดขยะ โดยมีการคัดแยกขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อเพื่อจัดการอย่างเหมาะสม โดยจัดถังพักขยะแยกตามประเภทขยะ ได้แก่

1
ขยะทั่วไป
เช่น เศษอาหาร, ถุงพลาสติก ใส่ในถุงขยะสีขาวที่ป้องกันการรั่วไหลของของเหลว บรรจุในถังขยะที่มีฝาปิดและมีสัญลักษณ์ “ขยะทั่วไป”
2
ขยะติดเชื้อ
แบ่งออกเป็น
  1. ขยะติดเชื้อมีคม เช่น เข็ม, ใบมีด, ปลายสาย IV set เป็นต้น ใส่ในภาชนะป้องกันการทะลุและมีฝาปิด
  2. ขยะติดเชื้อไม่มีคม เช่น ผ้าซับเลือด, ถุงมือ, Syringe เป็นต้น ใส่ในถุงขยะสีแดงและรองรับด้วยภาชนะไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิดและมีสัญลักษณ์ “ขยะติดเชื้อ”
  3. ขยะติดเชื้อที่เป็นของเหลว เช่น เลือด, ปัสสาวะ และสารคัดหลั่ง ใส่ในถุงขยะสีแดงและรองรับด้วยภาชนะไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิดและมีสัญลักษณ์ “ขยะติดเชื้อ เช่นเดียวกับขยะติดเชื้อไม่มีคม
3
ขยะอันตราย
เช่น ถ่านไฟฉาย, กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น ใส่ในถุงขยะสีเทาและใส่ถังขยะสีดำ

ในการเคลื่อนย้ายขยะจะต้องใช้ภาชนะที่มีฝาปิดหรือผนึกจากบริเวณที่ทิ้งไปยังบริเวณที่พักขยะของทางอาคารที่บริษัทใช้เป็นสถานประกอบการ ซึ่งทางอาคารจะดำเนินการให้ผู้ประกอบการภายนอกเก็บเพื่อนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะ สำหรับในปี 2566 บริษัทมีปริมาณขยะติดเชื้อแบบมีคมรวมประมาณ 20 กิโลกรัม และแบบไม่มีคมรวมประมาณ 80 กิโลกรัม โดยวัดจากปริมาณขยะที่บริษัทได้คัดแยกและนำส่งไปยังพื้นที่สำหรับส่งมอบขยะของอาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์

การจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission)

บริษัทตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกประเทศทั่วโลก โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากความผันแปรตามธรรมชาติหรือกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลต่อสุขภาพ การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย

ความปลอดภัยและการทำงานจึงนับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการของทุกบริษัททั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการให้บริการโดยรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานและมีนโยบายเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อส่งมอบคุณค่าของบริษัทไปยังผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมกับเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของประเทศไทย

ในปี 2566 บริษัทได้มีการจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริษัทเป็นครั้งแรกเพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลปีฐาน โดยมีผลการทบทวนข้อมูลการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท ดังนี้

การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี 2566 (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 การใช้สารดับเพลิง และการใช้สารทำความเย็น 23
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 2 การใช้ไฟฟ้าภายนอก และการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบปรับอากาศอาคาร (ไอเย็น) 19
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 ไม่ประเมิน -

หมายเหตุ: Scope 1 ได้แก่ การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง Scope 2 ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions) ได้แก่ ไฟฟ้าที่ถูกนำเข้าจากภายนอกเพื่อใช้งานภายในองค์กร พลังงานนำเข้าอื่น ๆ Scope 3 ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Other Indirect Emissions) นอกเหนือจากที่ระบุใน Scope 1 และ Scope 2

ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการตรวจประเมินก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัทและจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทุก ๆ ปี ตลอดจนส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ