ภาพรวมของการทำการปฏิสนธิในหลอดทดลองและการทำ ICSI

การนัดหมายทางการแพทย์

ผู้รับบริการจะต้องทำการนัดหมายกับแพทย์เฉพาะทางที่คลินิก เพื่อเข้ารับการปรึกษา, ประเมินภาวะสุขภาพ ,ตรวจคัดกรองและ ทำความเข้าใจในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก และการวางแผนเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เจ้าหน้าที่ InSpire IVF สามารถให้คำปรึกษาและตอบทุกข้อสงสัยของผู้รับบริการได้ ผู้รับบริการจะรับทราบความคืบหน้าของกระบวนการรักษาในแต่ละขั้นตอน

การปฏิสนธิในหลอดทดลอง

ความหมายของ IVF คือการปฏิสนธิภายในหลอดทดลอง คือกระบวนการที่ไข่ของเพศหญิงถูกปฏิสนธินอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ เมื่อได้เป็นตัวอ่อนที่แข็งแรงและสมบูรณ์จะถูกถ่ายโอนตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ตัวอ่อนที่เหลือจะถูกแช่แข็งและเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในอนาคต 

การปฏิสนธิในหลอดทดลอง ไม่ได้อธิบายถึงการเกิด ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ , เพศชายที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเชื้อ

ผู้ที่เหมาะสมในการใช้การปฏิสนธิในหลอดทดลอง

การปฏิสนธิในหลอดทดลองเหมาะสมสำหรับ เพศหญิงที่มีความผิดปกติของท่อนำไข่ สำหรับเพศชาย ที่มี จำนวนของอสุจิน้อย , ความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำ , ความเข้มข้น และรูปร่างที่เป็นปกติ 

การปฏิสนธิในหลอดทดลอง ไม่ได้อธิบายถึงการเกิด ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ , เพศชายที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเชื้อ

ผู้ที่เหมาะสมในการทำ ICSI

การทำอิ๊กซี่เหมาะสำหรับคู่สมรสที่เพศชาย มีจำนวน , รูปร่าง , ความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิต่ำ หรือเพศหญิงที่มีอายุมาก ,คู่สมรสที่ล้มเหลวจากการรักษาภาวะมีบุตรยากมาหลายครั้ง , ผู้ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม

ขั้นตอนในการทำการปฏิสนธิในหลอดทดลอง

  • การกระตุ้นไข่โดยใช้ฮอร์โมน และ กระตุ้นให้ไข่ตก
  • การเก็บไข่
  • การเก็บน้ำเชื้อและการเตรียมน้ำเชื้อ
  • การผสมไข่และอสุจิเพื่อให้มีการปฏิสนธิและเลี้ยงจนถึงยะระ Blastocyst ในห้องปฏิบัติการ
  • การถ่ายโอนตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกเพศหญิง
  • การตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซม

การกระตุ้นไข่

กระบวนการกระตุ้นไข่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางสูติ ผู้รับบริการจะได้รับยาฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นไข่ในรังไข่ให้เติบโตและมีจำนวนเพิ่มขึ้น แพทย์จะดูแลและติดตามปริมาณ ,ขนาด , ความสมบูรณ์ของไข่จากการอัลตร้าซาวน์ทางช่องคลอด คุณภาพและปริมาณของไข่ที่ถูกกระตุ้นจะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้รับบริการ เมื่อไข่มีขนาดโตเพียงพอแล้ว แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนกระตุ้นให้มีการไข่ตก หลังจากฉีดยา 36 -48 ชั่วโมง 

การเก็บไข่

การเก็บไข่ทางช่องคลอด

การเก็บไข่ทางช่องคลอดจะทำโดยการดมยาสลบผู้รับบริการ และใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์ทางช่องคลอดเป็นตัวนำทาง แล้วใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านทางผนังช่องคลอด และดูดของเหลวและไข่ออกมาใส่ในหลอดทดลอง เพื่อทำการวิเคราะห์ ล้างทำความสะอาด นำไปเลี้ยงในจานอาหารเลี้ยงเชื้อและเตรียมผสมกับอสุจิในตู้บ่มเพาะ 

การปฏิสนธิของไข่และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

ขณะที่ไข่ถูกเลี้ยงให้เติบโต อสุจิก็จะถูกวิเคราะห์และเตรียมในห้องปฏิบัติ เพื่อคัดเลือกอสุจิที่มี รูปร่าง , ความสามารถในการเคลื่อนที่ ,ขนาด ที่ดีที่สุดแยกออกมา

ในขั้นตอนของการปฏิสนธิในหลอดทดลอง อสุจิจะถูกเพิ่มลงในจานอาหารที่มีไข่ และบ่มเพาะในตู้ เป็นระยะเวลา1 คืน

การทำอิ๊กซี่ เป็นกระบวนการที่ใช้อสุจิเพียงตัวเดียว ฉีดเข้าในไข่โดยใช้เข็มแก้วแทนที่จะปล่อยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองในจาน

หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิ จะถูกเพาะเลี้ยงและติดตามคุณภาพทุกวันในห้องปฏิบัติการ จนอย่างน้อย 3 วัน ในกรณีส่วนใหญ่ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเต็มที่ ใน วันที่ 5 หรือ 6 (Blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสม ตัวอ่อน  1หรือ 2 ตัวที่คุณภาพดีที่สุดจะถูกเลือกเพื่อถ่ายโอนตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกของเพศหญิง

ทางคลินิก Inspire IVF จะแนะนำให้ผู้รับบริการใช้ตัวอ่อนในวันที่ 5 หรือ 6  ซึ่งสามารถทำการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อเพื่อคัดกรองหรือวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน มีการพุดคุยและปรึกษากับแพทย์เพื่อทราบข้อมูล ทางเลือกต่างๆสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

การถ่ายโอนตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก

การถ่ายโอนตัวอ่อนเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน โดยเราจะถ่ายโอนตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกในเวลาที่เยื่อบุมดลูกมีความหนามากพอสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่ถ่ายโอนไป

ตัวอ่อน 1 หรือ 2 ตัวจะถูกถ่ายโอนโดยสายยางขนาดเล็กที่สอดผ่านปากมดลูกและเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งมีอัลตราซาวด์ในการนำทาง สำหรับตัวอ่อนที่ไม่ได้ถ่ายโอน จะถูกแช่แข็งและเก็บรักษาไว้

ผลข้างเคียงจากการได้รับยากระตุ้นไข่

ยาที่ใช้ในกระตุ้นไข่มีกระบวนการทำงานโดยไปกระตุ้นการสร้างไข่จำนวนมากขึ้น ซึ่งหลังจากได้รับยาอาจจะมีอาการวูบวาบ หรือเวียนศีรษะซึ่งเป็นอาการปกติ บางคนจะมีอาการปวดท้องส่วนล่าง ท้องอืด ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนในการกระตุ้นไข่

การกระตุ้นไข่

ความเสี่ยงในการกระตุ้นไข่มากเกินไป อาจะทำให้เกิด ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน OHSS รังไข่ของบางคนมีการตอบสนองต่อยามากเกิน ทำให้มีปริมาณที่ถูกกระตุ้นมากร่วมกับมีปริมาณฮอร์โมนสูงขึ้นทำให้เกิดอันตรายได้ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน เป็นภาวะที่มีการรั่วซึมของสารน้ำออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ช่องปอด เนื้อเยื่อของแขนขา เป็นต้น สาเหตุเกิดจากการกระตุ้นไข่ในขบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ บางครั้งเกิดจากการกระตุ้นไข่ในการฉีดเชื้อผสมเทียมก็ได้ เนื่องจากการให้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ จะทำให้มีสารเคมีบางตัวออกมาทำให้มีรูรั่วของเส้นเลือด น้ำในกระแสเลือดจึงไหลออกข้างนอก อาการทั่วไปก็จะมี ท้องอืด บวม อึดอัด ปัสสาวะเข้มขึ้น ตรวจพบมีน้ำในช่องท้อง เราจัดความรุนแรงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน เป็น 3 ระดับ คือ

  • ระดับน้อย – จะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง รังไข่ขนาดน้อยกว่า 8 เซนติเมตร
  • ระดับปานกลาง – ท้องอืดมากขึ้น อาจจะมีคลื่นไส้ อาเจียน ตรวจพบน้ำในช่องท้อง
  • ระดับรุนแรง – ท้องอืดมากชัดเจน รอบเอวใหญ่ขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัสสาวะลดลง ความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้น วัดขนาดรังไข่มากกว่า 12 เซนติเมตร ระดับนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด หรือต้องนอนโรงพยาบาล

 

และหากรังไข่ไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นไข่ ทำให้ไม่มีไข่หรือไม่มีคุณภาพ แพทย์จำเป็นต้องยกเลิกการเก็บไข่ และกระตุ้นใหม่ในภายหลัง

ภาวะแทรกซ้อนในการเก็บไข่

การเก็บไข่จำเป็นต้องดมยาสลบ ซึ่งอาจจะทำให้เวียนศีรษะและอาเจียนมึนงงชั่วคราว บางคนอาจะมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานซึ่งพบได้น้อย

ภาวะแทรกซ้อนจากการปฏิสนธิในหลอดทดลอง

เป็นขั้นตอนและกระบวนการที่ทำภายในห้องปฏิบัติการ

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ

อาจเกิดขึ้นได้จากความผิดพลาดของบุคคล ที่คลินิก Inspire จะมีการจัดการคุณภาพ ตรวจสอบคู่กันในทุกขั้นตอนของกระบวนการ เพื่อลดความผิดพลาด และเป็นการเพิ่มมาตรฐานให้สูงมากขึ้น คุณภาพของอุปกรณ์และการบำรุงรักษาถูกดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ หากเกิดเหตุไฟฟ้าดับหรือขัดข้อง คลินิกมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเพื่อเป็นแหล่งจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์ทั่วคลินิก

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นที่ผู้รับบริการเป็นเพศชาย

ในการเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิควรเก็บหลายครั้งเพื่อให้มีน้ำอสุจิมากพอในการวิเคราะห์และคัดเลือก อสุจิที่ดีที่สุดสำหรับกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก หากไม่สามารถเก็บน้ำอสุจิได้จะใช้การผ่าตัด

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการถ่ายโอนตัวอ่อน

ขั้นตอนการถ่ายโอนตัวอ่านเป้นกระบวนการที่ง่ายที่สุดในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งคล้ายคลึงกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากดลูก หากผู้รับบริการมีปากมดลูกที่แคบอาจจะส่งผลต่อการถ่ายโอนตัวอ่อน เนื่องจากการใส่เครื่องมือจะยากขึ้นทำให้ผู้รับบริการเจ็บ ในบางรายอาจจะชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบแทน ในการถ่ายโอนตัวอ่อนแต่ละครั้ง หากคู่สมรสมีตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งตัว แพทย์จะใส่ตัวอ่อนมากกว่า  1  ตัวในแต่ละการถ่ายโอน หากตัวอ่อนบางตัวเกิดตายไป จะมีตัวสำรองทดแทนและฝังในโพรงมดลูก แต่ในบางกรณีตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวสามารถฝังและเจริญเติบโตต่อเป็นทารก ซึ่งทำให้เกิดแฝดได้